วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

นักวิทย์รัสเซียชี้โลกอาจเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง ในปี 2014



ในขณะที่ทั่วโลกมีการรณรงค์ลดพฤติกรรมอันก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนกันอย่างต่อเนื่อง และเริ่มเอาจริงเอา
จังกันมากขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ดูเหมือนว่า มันไม่อาจยับยั้งการเปลี่ยนแปลงตามวัฏจักรของโลกไปได้ เมื่อสภาพอากาศทั่วโลกกำลังเริ่มเปลี่ยนแปลงไป คล้ายจะเป็นสัญญาณว่าโลกทั้งโลกกำลังจะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ใน อีกไม่ช้า ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า โลกอาจกำลังเข้าสู่ยุคน้ำแข็งในไม่ช้า และเป็นไปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจจะเกิดขึ้นในปี 2014 ก็เป็นได้

โดยในการประชุมภาวะโลกร้อนนานาชาติ ที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมปีก่อน ดร.ฮาบิบูลโล แอ๊บดัซซามาโทฟ หัวหน้าทีมวิจัยอวกาศแห่งหอดูดาวและอวกาศ เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ได้คาดการณ์ว่า โลกอาจจะเข้าสู่ยุค "Little Ice Age" หรือยุคน้ำแข็งเล็ก ๆ รอบใหม่ ในปี 2014 หรืออีกเพียงไม่ถึง 4 ปีข้างหน้า หลังจากคาดว่า จุดดับบนดวงอาทิตย์มีจำนวนลดลง และจะลดลงถึงขีดสุดในปี 2042 ส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิลดลงถึงจุดที่เย็นที่สุดในปี 2055-2060

นอกจากนี้ ดร.ฮาบิบูลโล แอ๊บดัซซามาโทฟ ได้เปิดเผยข้อมูลแสดงจุดดับของดวงอาทิตย์ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เพื่อโต้แย้งงานวิจัยอื่น ๆ ว่า แท้จริงแล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศบนโลกนั้น ไม่ได้เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนโลกแต่อย่างใด แต่เกิดจากรังสีจากดวงอาทิตย์ต่างหาก โดย ดร.ฮาบิบูลโล ได้แสดงข้อมูลการสำรวจดวงอาทิตย์ในที่ประชุม พร้อมกับระบุว่า มีนักวิทยาศาสตร์กว่า 700 คนทั่วโลก ที่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีที่ว่าภาวะโลกร้อนเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ บนโลก



และเพื่อสนับสนุนทฤษฎีที่ว่า ดวงอาทิตย์เป็นสาเหตุให้อุณหภูมิโลกเปลี่ยนแปลง ดร.ฮาบิบูลโล ได้นำเสนอข้อมูลการสำรวจในปี 1893 ที่บันทึกโดย วอลเตอร์ มอนเดอร์ นักดาราศาสตร์ที่สรุปข้อมูลจุดดับของดวงอาทิตย์ตั้งแต่ปี 1645 - 1715 พบว่า จุดดับของดวงอาทิตย์มีจำนวนเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว และมันก็ทำให้โลกมีอุณหภูมิลดลง ซึ่งในแวดวงวิทยาศาสตร์เรียกช่วงเวลานี้ว่า "ยุคน้ำแข็งเล็ก ๆ" และหลังจากช่วงนั้น ดวงอาทิตย์ก็ได้แผ่รังสีออกมาในระดับสูง และพลังงานดวงอาทิตย์ก็ไหลเวียนอย่างรุนแรงมาก โดยปฏิกิริยาดังกล่าวนี้เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี 1990 และกินเวลายาวนาน ก่อนการไหลเวียนพลังงานของดวงอาทิตย์จะอยู่ในระดับคงที่ ซึ่งมันก็ทำให้อุณหภูมิของโลกคงที่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา แต่จากการสำรวจล่าสุด พบว่า ดวงอาทิตย์มีการไหลเวียนพลังงานน้อยลง และส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิลดลงอีกครั้ง แม้ว่าจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ก็ตาม




สำหรับ จุดดับบนดวงอาทิตย์ ที่ ดร.ฮาบิบูลโล กล่าวถึงนี้ หมายถึง พื้นที่ส่วนหนึ่งบนดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ ซึ่งหากมีจำนวนมากมันจะทำให้รังสีจากดวงอาทิตย์มีปริมาณลดลง ซึ่งจำนวนของจุดมืดนี้จะเพิ่มขึ้นและลดลงไม่เท่ากันตลอดเวลา และจุดมืดแต่ละจุดจะมีอายุตั้งแต่ 1 สัปดาห์ ไปถึงหลายเดือน มีขนาดตั้งแต่ 3,600 กิโลเมตรไปจนถึง 50,000 กิโลเมตรเลยทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น