วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

ทักษะการป้องกันตัวนะครับ เพื่อไว้ใช้จริง พร้อมประวัติ

อันนี้เรียกว่า wing chun หรือ หย่งชุน ครับ

ประวัติมวย wing chun หรือ หย่งชุน 
กว่า 250 ปีมาแล้วรัชสมัยของกษัตริย์ หยวนเซ็ง แห่งราชวงศ์ ชิง วัดเส้าหลินได้ถูกวางเพลิงโดยทหารมองโกล
การวางเพลิงครั้งนี้จึงส่งผลให้ 5 ปรมาจารย์ อาวุโสของ วัดเส้าหลินพร้อมลูกศิษย์ต้องฝ่าทหารมองโกล ลงทางใต้
ของเมืองจีน ปรมาจารย์ทั้ง 5 ได้แก่ หลวงจีนจี้ส่าน, แม่ชีไบ๋เหมย, แม่ชีหวู่เหมย, หลวงจีนฟองโตตั๊ก, หลวงจีนเมียงหิ่น รวมทั้งศิษย์ ฆราวาส ได้แก่ หงซีกวน ฟางซื่อยี่, ลกอาซาม, ถงเชียนจิน, หวูเว่ยฉวน, ชายหมี่จิ้ว และอื่นๆ
ปรมาจารย์ จี้ส่าน สอนศิษย์ ฆราวาสมากมายและได้นำศิษย์หล่านี้ต่อต้านแมนจู ในบรรดาศิษย์เหล่านี้นำโดยศิษย์พี่ชื่อ
หงซีกวน, ตงซินทุน, ฉอยอาฟุก พวกเขา ปฏิบัติการในเรือแดง โดย จี้ส่านได้ปลอมตัวเป็น พ่อครัวของคณะงิ้วเรือแดง
ส่วนปรมาจารย์ แม่ชีหวู่เหมย ได้หนีความวุ่นวายทั้งปวงไปยัง วัดกระเรียนขาวบนเขาไท่ซาน ในขณะเดียวกันได้คิดค้นวิทยายุทธ์แขนงใหม่ ซึ่งแตกต่างและมีประสิทธิภาพดีกว่าวิชาที่ได้เรียนจากวัดเส้าหลิน วิชานี้ แม่ชีได้ พบจุดเริ่มต้น
โดยบังเอิญเมื่อเธอได้เห็น จิ้งจอกต่อสู้กับนกกระเรียน ซึ่งจิ้งจอกวิ่งวนไปรอบๆนกกระเรียนเป็นวงกลมหวังหาจังหวะ
จู่โจมนกกระเรียน แต่ นกกระเรียนอยู่ในศูนย์กลางวงกลม หันหน้าเข้าหาจิ้งจอกตลอดเมื่อจิ้งจอกโจมตีนกกระเรียนก็ปัดและจิกโดยไม่วิ่งออกจากวงกลมอาศัยการป้องกันและโจมตีในเวลาเดียวกัน จากจุดนี้คือการค้นพบพื้นฐานของมวยชนิดใหม่
การต่อสู้ของมวยชนิดนี้คืออาศัยหลักการต่อสู้อันแยบยลตามหลักธรรมชาติของการหลบหลีก การเคลื่อนไหวด้วยการ
ปะทะแบบสลายแรงอย่างรวดเร็วพร้อมโจมตีเป็นเส้นตรงในเวลาเดียวกันทั้งรุกและรับในจังหวะเดียวกัน โดยการใช้โครงสร้างและสรีระของร่างกายแทนกำลังของมือและเท้าในการทำลายคู่ต่อสู้
ต่อมา แม่ชีหวู่เหมยได้รับลูกศิษย์ ซึ่งเป็นผู้หญิงชื่อ เหยิ่น หย่งชุน ได้ถ่ายทอดวิชายุทธย์แขนงใหม่นี้ให้และฝึกฝนจน
สามารถป้องกันตนเองได้แล้ว หย่งชุนจึงลงเขา ไท่ซ่านกลับไปหาบิดา จากนั้นหย่งชุนได้เอาวิชานี้สู้กับพวกอันธพาลที่มารังควานและรังแกประชาชนในมลฑลนั้นจนชนะทั้งหมดจึงสร้างชื่อเสียงขึ้นมา
หลังจากนั้นหย่งชุนได้แต่งงานกับ เหลือง ปอกเชา และพยายามจะสอนวิชานี้ให้กับสามีแต่สามีไม่ยอมฝึกเพราะตัวสามีนั้นได้ฝึกฝนมวยเส้าหลินมาอย่างช่ำชองแล้วแต่หย่งชุนก็ได้แสดงฝีมือและได้เอาชนะสามีทุกครั้ง สุดท้ายสามีจึงยอมเรียนวิชานี้กับภรรยา และจากจุดนี้จึงได้ตั้งชื่อมวยแขนงใหม่นี้ว่า หย่งชุน ตามชื่อภรรยา
ผู้หญิงทั้งๆมีรูปร่างเล็กและบอบบางกว่าผู้ชายแต่แรงของผู้หญิงจะไปสู้กับแรงผู้ชายไดอย่างไรกัน มวยหย่งชุนเป็น
มวยผู้หญิง หลักวิชาต่างๆที่ถูดคิดค้นขึ้นในวิชานี้ เน้นสำหรับผู้หญิง หย่งชุน ใช้สรีระที่ถูกต้องบวกกับความเข้าใจแรงที่แตกฉานและการฝึกฝนที่ถูกหลักวิชา มีทั้งอ่ออนและแข็ง (ไม่ใช่มวยอ่อนอย่างเดียว)และขอเน้นว่าไม่ได้เน้นกำลังภายในอะไรทำนองนั้นแต่ใช้ความเข้าใจทางสรีระและวิทยาศาสตร์
หว่องว่าโป๋ว และเหลียงหยี่ไท่
วิทยายุทธ์หย่งชุนคงจะไม่มีในวันนี้หากเหลี่ยงหล่านไกวไม่สอนใครเลย แต่ว่าเขาได้สอน หว่องว่าโป๋ว นักแสดงงิ้วแห่งคณะงิ้วเรือแดงเป็นการบังเอิญที่ปรมาจารย์ จี้ส่านก็ได้ปลอมตัวเป็นพ่อครัวในคณะงิ้วเช่นกัน จี้ส่านในเวลานั้นได้สอนลูกศิษย์อยู่จำนวนหนึ่ง เหลียงหยี่ไท นายคัดท้ายเรือคือหนึ่งนจำนวนศิษย์ซึ่งสนใจและได้รับการถ่ายทอดกระบองหกแต้มครึ่งหว่องว่าโป๋วและเหลี่ยงยี่ไท่ได้รู้จักชอบพอกันและแลกเปลี่ยนวิชากัน
หลังจากนั้นทั้งสองได้ดัดแปลงกระบองหกแต้มครึ่งโดยประยุกต์หลักการฟังด้วยการสัมผัสจากมวยหย่งชุนหรือชี้เสาและเรียกการฝึกฝนด้วยกระบองสัมผัสนี้ว่าชี้กวัน
การชี้เสามีวิธีการฝึกโดยคู่ฝึกใช้แขนสัมผัสตลอดการฝึกฝนโดยต่างฝ่ายต่างฟังการเคลื่อนไหวของอีกฝ่ายจากการสัมผัสในขณะที่พยายามปิดป้องและโจมตีในเวลาเดียวกันโดยใช้แม่ไม้มวยหย่งชุนระหว่างการฝึกแขนทั้งสองฝ่ายต้องไม่หลุดสัมผัสหรือแยกจากกันเลย
เหลียงจั่น
เหลี่ยงยี่ไท่ได้สอนเหลียงจั่นศิษยืคนเดียวเมื่อเขาเกือบเขาสู่วัยชรา เหลียงจั่นเป็นหมอแผนโบราณชื่อดังแห่งฝอซาน
แห่งมลฑลกวางตุ้ง เหลียงจั่นต่อมาได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งมวยหมัดหยงชุน หรือ ราชามวยประลองเนื่องจากนักมวยทั่วสารทิศได้มาประลองกับเหลี่ยงจั่น แต่ทุกคนก็ได้แพ้ไปในที่สุดเหลี่ยงชุนและเหลี่ยงปิ๊ก รวมทั้งหมกหยั่นหว่า (หว่าหุ่นไม้)
ผู้มีแขนทังสองอันแข็งแกร่ง ลูกศิษย์ที่สำคัญของเหลียงจั่นคือฉันหว่าซุนหรือผู้แลกเงินเจ๋าฉิ่นหว่าผู้ซึ่งได้แอบฝึกมวยหย่งชุนโดยมองผ่านเข้ามาตามซอกประตู จนกระทั่งเหลียงจั่นจับได้หลังจากที่เหลี่ยงซุ่นและฉานหว่าซุ่นได้ทำเก้าอี้ตัวโปรดหักระหว่างประลองกันและรับเป็นศิษย์ในที่สุด
ฉานหว่าซุนและศิษย์
ฉานหว่าซุนรับลูกศิษย์ทั้งหมดสิบหกคน มีศิษย์คนโตชื่อว่าหงึงชงโซวและศิษย์คนสุดท้ายคืออาจารย์หยิบมั่น อาจารย์หยิบมั่นสะสมเงินเพื่อมาขอเป็นศิษย์อาจารย์ฉานหว่านซุนเมื่อเขาอายุได้ประมาณ 11 ปี อาจารย์ฉานหว่าซุนจึงรับยิบมั่นเป็นลูกศิษย์คนสุกท้ายและสอนหยิบมั่นเป็นเวลา 6 ปีก่อนจะเสียชีวิตหลังจากนั้นยิบมั่นฝึกฝนต่อภายใต้การชีนำของศิษย์พี่ใหญ่หงึงชงโซว ยิบมั่นได้เข้าศึกษาต่อที่ฮ่องกง ด้วยความคะนองได้ท้าประลองไปทั่วฮ่องกงและความหึกเฮิมมีมากขึ้นเมื่อเขาชนะเสมอ จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้พบคนแก่คนหนึ่งซึ่งผู้คนรู้จักกันดีว่ามีความสามารถยิบมั่นแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่าให้กับชายแก่คนนนั้นซึ่งแท้จริงแล้วชายแก่ผู้นั้นคือ เหลียงปิ๊ก อาจารย์อา บุตรเหลียงจั่น หรือศษย์น้องของฉานหว่าซุนนั้นเองยิบมั่นหลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายจึงลาอาจารย์กลับเมืองจีน
ยิบหมั่น และ ศิษยหลังจากที่คอมมิวนิสต์เข้าปฎิวัติประเทศจีน ยิบมั่นจึงอพยบมาที่ฮ่องกงอีกครั้ง และจึงเริ่มรับลูกศิษย์ทั่วไปมากมายมี ฮอกกิ่นเชียง และอื่นๆ อาจารย์เหล่านี้ได้เผยแพร่มวยหย่งชุนจนมีผู้ฝึกฝนทั่วโลกในบัจจุบันเป็นจำนวนมากมาย
บรู๊ซลีได้ไปอมเริกาและได้นำหมัดช่วงสั้นหนึ่งนิ้วและสามนิ้วไปสาธิตที่การแข่งขันศิลปป้องกันตัวของ ed parker ครูมวยคาราเต้รับบอเมริกันแคมโบ้ (American kempo) จนเป็นที่ตื่นเต้นแก่ผู้สนใจเป็นจำนวนมากและเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ เคโต้ และอ้ายหนุ่มซินตึ้ง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์กับอาจารย์ยิบมั่นเป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนักเมื่อยิบมั่นไม่ยอมถ่ายทอดวิชาทั้งหมดให้กับบรู๊ซได้ในเวลาอันสั้นด้วยความผิดหวัง บรู๊ซจึงได้คิดค้นมวยของตนเองขึ้นมาแล้วตัวชื่อว่า จิ๊ตคุนโด หรือวิชาหยุดหมัดสำหรับผู้ที่รู้จักมวยทั้งสองแล้วย่อมรู้ว่าบรู๊ซได้คงไว้ซึ่งหลักวิชาหย่งชุนไว้อย่างมาก
ยิบมั่นเสียชีวิตลงในปี ค.ศ 1972 และถูกยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ในยุคบัจุบันของหย่งชุน เคียงข้าง เซ็งหม่านชิง
(แต้หมั่งแช-แต้จิ๋ว) แห่งสำนักไทเก็ก ยูอิชิบ้าแห่งสำนักไอคิโด ส่วนบรู๊ซลีเสียชีวิตอีกหนึ่งปีถัดมา
เจี้ยงฮกกิ่น จูเสาไหล่ และอนันต์ ทินะพงศ์
บรู๊ซลีมีเพื่อนสนิทในโรงเรียนและสำรักมวย ชื่อเจี๊ยงฮกกิ่น ทั้งคู่เรียนหนังสือและวิชาป้องกันตัวและออกประลองด้วยกัน ทั้งคู่ฝึกมวยหย่งชุนภายใต้การชี้แนะของยิบมั่นและศิษย์พี่จอมราวีหว่องซัมเหลียงและเจียงจกเฮง เจียงฮกกิ่นนอกจากการศึกษาวิชามวยหย่งชุนแลวยังได้ศึกษามวยไทเก็กตระกูลวู และบัจุบันได้สอนมวยทั้งสองชนิดนี้เป็นการส่วนตัวที่ รํฐลอสแองเจิลลิส อเมริกาและได้รับศิษย์เอกในวิชาหย่งชุนคือจูเสาไหล่
อาจารย์จูเสาไหล่ศึกษาศิลปป้องกันตัวตั้งแต่เล็กๆในวิชาคาราเต้โชชินริว ต่อมาได้ฝึกมวยตระกูลหงทั้งหมดในฐานะศิษย์เอกจากยี่จีเหว่ย ศิษย์อาจารย์ต๋องฟ้งศิษย์อาจารย์หวองเฟยหง อาจารย์จูเสาไหล่ได้ให้ความสนใจหมัดหย่งชุนมาเป็นเวลานานจึงได้เริ่มหัดมวยหยงชุนกับ อากว้าน ศิษย์หย่งชุนสำนักซีมเซียวซาน หลีหมุ่ยซาน ศิษย์อาจารย์หมุ่ยยัดศิษย์อาจารย์หยิบมั่น อาจารย์จูเสาไหล่ยังได้พัฒนาตัวเองเพิ่มเติมจากอาจารย์หลุ่ยหยันซัน ราชากระบองแดนใต้และมวยซิ่งยี่หมัดจากใจและไทเก็ก อาจารย์จูเสาไหล่ยังศึกษาเพิ่มเติมจากอาจารย์ฮอกกิ่นเป็นครั้งคราวเมื่ออาจารย์อยู่ลอสแองเจิลลิส อเมริกา จึงได้กราบเป็นศิษย์อาจารย์ฮอกกิ่นจนถึงทุกวันนี้
อาจารย์อนันต์ได้เรียนรู้วิชาป้องกันตัวตั้งแต่อายุ 11 ปี ในวิชาเทควันดด้และมวยเสี้ยวลิ้มใต้จากอาจารย์คันศรเป็นเวลา 6-7 ปี และมวยไทยเมื่อคุณพ่อได้เปิดค่ายมวยไทยหลังจากนั้นจึงเดินทางไปเรียนต่อที่อมเริกาขณะที่อยู่อมเริกาอาจารย์อนันต์ได้คลุกลีกับศิลปป้องกันตัวโดยตลอดโดยได้เป็นผู้จัดการฝ่ายขายอุปกรณ์กีฬาป้องกันตัวเป็นเวลา10ปีที่นี่เองอาจารย์อนันต์ได้พบกับอาจารย์จูเสาไหล่จนเป็นมิตรที่สนิทและได้แลกเปลี่ยนวิชากันถ้าใครแพ้ก็ต้องเรียนวิชาอีกฝ่ายหนึ่งและก็ต้องถ่ายทอดสื่งที่ตนเรียนมาให้โดยไม่มีเงื่อนไข
อาจารย์อนันต์ได้เรียนรู้วิชาหย่งชุนกับอาจารย์จูเสาไหล่เป็นเวลาหลายปีก่อนจะกลับเมืองไทยในปี คศ 1988
จากนั้นจึงเริ่มสอนวิชามวยหย่งชุนเป็นต้นมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น